เราทำบล็อกนี้ขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ศิลปินผู้เสกสร้างงานศิลปะจากมโนภาพแห่งจิตสู่ผลงานบนผ้าใบ“เชฟแคนวาส”

เกียรติศักดิ์  ชานนนารถ:
ศิลปินผู้เสกสร้างงานศิลปะจากมโนภาพแห่งจิตสู่ผลงานบนผ้าใบ“เชฟแคนวาส”
                                                                                                                              มานะ   พิมพ์ชัย
           การทำงานศิลปะของศิลปินมีความคิดต่างๆมากมายขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละบุคคลมาจากจิตที่อยู่ภายในใจและได้เก็บสะสมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน    เพื่อรอการถ่ายทอดออกมาอย่างประทุพุ่งแห่งจิตนาการ  จากมโนภาพจนกลายเป็นภาพร่างที่ทรงพลังเปี่ยมด้วยความเชื่อและศรัทธาของชีวิตที่อยู่ในตัวตนศิลปินเอง  จึงเห็นได้ว่าศิลปินจะประสบความสำเร็จย่อมมั่นศึกษา  รู้จักสร้างงานศิลปะซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องหมายบ่งบอกถึงตัวตนของศิลปินผู้มีทั้งความขยัน  ความเพียรเพื่อให้เยาวชนได้ยึดถือเป็นแบบอย่าง

ศาสตราจารย์เกียรติศักดิ์ผู้ประสบความสำเร็จ
          งานของศิลปินท่านนี้เชื่อกันได้หากทุกคนไอ้เห็นจะต้องนึกออกท่านที่เพระมีงานทั้งหลายเหล่านี้ถูกนำมาสอนหรือยกตัวอย่างในการศึกษาอยู่หลายครั้ง  ซึ่งศิลปินท่านนี้ก็ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มีอยู่มากมายทั้งในด้าน  การวาดเส้น  งานจิตกรรมหรือจิตกรรมสามมิติ รวมไปถึงงานสื่อผสม  เป็นบุคคลที่มีทักษะบวกด้วยฝีมือ  มีความชำนาญทางเทคนิค   และมีชั้นเชิงของความคิดที่ค่อนข้างสูงสังเกตได้จาการถ่ายทอดทางอารมณ์ผ่านผลอ มีพลังและความงามอันละเมียดละมัย  โดยมีประสบการณ์ที่เกี่ยวกับชิวิตอย่างหลากหลาย อย่างสมบูรณ์ สิ่งเหล่านี้ที่กล่าวมามรเครื่องที่การันตีได้ดีหรือรับรองเกียรติ์ของศาสตราจารย์เกียรติคือ เหรียญรางวัลต่างๆซึงถือว่าเป็นหนึ่งในศิลปินชั้นเยี่ยมของประเทศไทย ที่ได้ศึกษามาประมาณ14เหรียญซึ่งมีดังต่อไปนี้
      เหรียญทองแดง รางวัลเกียรติยศอันดับ 3 จำนวน 6 เหรียญ
     เหรียญเงิน         รางวัลเกียรติยศอันดับ 2 จำนวน 6 เหรียญ
    เหรียญทอง       รางวัลเกียรติยศอันดับ 1 จำนวน 2 เหรียญ
              ศิลปินบุคคลท่านนี้มีอุปนิสัยดี และยังมีวิสัยทัศน์ก้าวไกลบวกทั้งมีความเป็นผู้นำในตำแหน่งงานการบริหารภาควิชาวิจิตรศิลป์ภายใต้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  จากนั้นก็ได้สร้างงานศิลปะจนมีชื่อเสียงด้วยเหรียญทองจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่41 ส่งผลให้กลายเป็นเจ้าคุณที่ดัง เป็นที่รู้จักกันในวงการศิลปะอยางรวดเร็วสถาบันแห่งนี้จึงถือได้ว่าไม่เป็นรองใครเลยทีเดียว
หลักการคิดในการทำงานของเกียรติศักดิ์  ชานนนารถผู้เสกสร้างงานศิลปะ
          ในการทำงานของศิลปินท่านนี้เขามีหลักความคิดที่ยึดถือและได้ปฎิบัติมาตลอด  เพื่อนเป็นเครื่องหมายและมีการวางแผนการทำงาน คือ
1.ให้ความสำคัญกับจิตใต้สำนึก (SUBCONSCIOS  MIND) เป็นตัวนำในการแสดงออกทางศิลปะ
2.มีเนื้อหาเกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตส่วนตัว
3.มีหลักธรรมของพุทธศาสนาชี้นำความคิด
         การสร้างงานศิลปะศิลปินจะต้องวาง(concept) ซึ่งศิลปินอย่างศาสตราจารย์เองก็มีการวางแนวคิด เพื่อสร้างงานศิลปะดังภาพต่อไปนี้
                        
                งานศิลปะแต่ละชุดแม้กระทั้งแต่ละช่วงเวลามีความแตกต่างกันออกไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพสังคมหรือเรื่องราวมากระทบประทะความรู้สึกอย่างรุนแรงจนเกิดเป็นแนวความคิด และอารมณ์สะเทือนใจ จึงสามารถที่จะถ่ายทอดออกมาเป็นงานศิลปะได้  นอกจากนี้ศิลปินก็ต้องมีแนวทางที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ก่อนหน้านี้ศาสตราจารย์ก็ได้รับอิทธิพลมาจาก“ศิลปะเซอร์เรียลีสต์”ตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษาศิลปินในลัทธิแห่งนี้ที่ศาสตราจารย์สนใจได้รับแรงบันดาลใจ ซาลวาเดอร์  ดาลี  จากนั้นจึงได้สร้างงานออกมาโดยวาง concept สะท้อนความจริงของจิตภายใน หรือที่เรียกกันว่า “จิตใต้สำนึก” นี้คือตัวอย่างงานที่ท่านได้ทำเป็นชุดในลักษณะงานเชฟแคนวาส

                 ผลงานทั้งหลายเหล่านี้ตีความในเรื่องจิต ศิลปินได้สร้างงานจากความพึงพอใจ ความมีอิสระจากการควบคุมด้วยเหตุผล ในการทำงานก็เป็นไปตามความจริงที่ว่าปล่อยให้จิตใต้สำนึกของตัวเองได้แสดงความจริงที่ซ่อนแร่นอยู่ภายในจิตใจแสดงออกมาอย่างเต็มที่  งานแต่ละชิ้นจะมีจังหวะสูง-ต่ำงดงามท่วงทำนองในตัวมันเอง มีสี รูปทรงชีวิตที่ซับซ้อน มีเนื้อหาที่ชัดเจน รูปทรงต่างๆได้ปรากฎอยู่ในจิตนาการคนดูอย่างต่อเนื่อง งานของศาสตราจารย์ได้สะท้อนประสบการณ์ชีวิตส่วนตัว    ทั้งในภาวะรู้สึกตัวและไม่รู้สึกตัว(สำนึกและไร้สำนึก)ที่เกิดจากตัวศิลปินเองที่ได้สะสมไว้ภายใต้จิตสำนึกแห่งอดีตจนเกี่ยวพันถึงปัจจุบันจนกลายเป็นงานศิลปะ


เทคนิคกับการวาดภาพจิตรกรรมชั้นเยี่ยมของเกียรติศักดิ์ 
        การทำงานจากการวางแนวทางมาเป็นชิ้นงาน  เราจะเห็นได้จากหลักความคิดและแนวความคิดของศาสตราจารย์ที่สร้างสรรค์พัฒนาการโดยมีเรื่องราวหรือภูมิหลังมาจากเรื่องราวในอดีต  ทำให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ จากนั้นจึงเกิดเป็นมโนภาพขึ้น  แล้วจึงถ่ายทอดมโนภาพนั้นออกมาเป็นภาพร่างแบบอัตโนมัติ  จากนั้นจึงได้เริ่มทำงานโดยการร่างภาพให้เป็นจิตกรรม ศาสตราจารย์กล่าวว่า   “เวลาร่างภาพมันเป็นการหลั่งไหลของการสร้างสรรค์ติดต่อกันในช่วงสั้นๆ ตั้งแต่เริ่มจินตนาการแล้วจบอัตโนมัติส่วนมากจะสมบูรณ์โดยไม่ต้องแก้ไขภาพร่างโดยรวมคือเนื้อหาจากเรื่องราวที่ข้าพเจ้าเจอะเจอและเป็นประสบการณ์ของข้าพเจ้าในอดีต”  การดำเนินและการสร้างงานเกิดจากมโนภาพร่างด้วยประกาและหมึกดำจากนั้นจึงนำมาขยายตามสัดส่วนโดยการตีตารางเพื่อสร้างงานจริง   การวาดและระบายสีจึงเป็นไปตามขั้นตอนที่วางไว้  การวางภาพขั้นแรกจะวางน้ำหนักขาว-ดำ  ซึ่งเหมือนกับการdrowing นั้นเองจากนั้นก็แปรค่าน้ำหนักให้เป็นสีส่วนประธานหรือจุดเด่นของภาพจะเห็นสีได้ชัดขึ้นซึ่งศิลปินแต่ละคนก็ย่อมมีเทคนิคของตัวเอง เช่น  ศาสตราจารย์ เกียรติศักดิ์  ชานนนารถ
          งานศิลปะแต่ละชิ้นจะมีความงามอยู่ในงานชิ้นนั้นๆไม่ว่าจะเป็นสีหรือเทคนิค  และงานจิตรกรรมของเกียรติศักดิ์  ชานนนารถเองก็เป็นจิตรกรรมส่วนใหญ่ใช้สีน้ำมันบนผ้าใบและเขียนภาพระบายสีที่มีรูปทรงประธานก่อนจากนั้นก็รูปทรงส่วนอื่นๆ  และเขียนตามพื้นหลังจะเขียนในตอนสุดท้าย และเทคนิคแบบนี้จะเขียนภาพซ้ำ2ครั้ง กล่าวคือ ครั้งแรกประมาณว่าระบายให้หมดคุมบรรยากาศ จากนั้นครั้งที่2หรือครั้งสุดท้ายจึงค่อยเก็บรายละเอียด  ภาพนั้นจึงจะสมบูรณ์
         หากต้องการเป็นศิลปิน การทำงานอะไรก็ตาม เราต้องรู้จักวางแผนกำหนดทิศทางให้ชัดเจนแล้วพยายามหาแนวทางภายใต้อารมณ์ความรู้สึกอกมา หาแรงบันดาลใจที่สามารถทำให้เกิดความสะเทือนใจของตนเอง  หากเราต้องการเป็นผู้ที่จะประสบความสำเร็จ จะต้องเป็นผู้มีความมุ่งมั่นต่อการทำงาน และรู้จักพัฒนาตัวเองเพื่อไปสู่ความก้าวหน้าของชีวิต หากสิ่งที่ได้กล่าวมานี้ตัวท่านเองไม่เคยคิดจะทำยังไงต่อเหล้าในอนาคต   เราจะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้เลย ศิลปินต้องเป็นคนสร้างงานศิลปะและคนธรรมดาอย่างเราละจะทำยังไง เพื่อหาทางเดินให้กับชีวิต


อ้างอิง
หนังสือศิลปะfine  art







    
       




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น