เราทำบล็อกนี้ขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

สมุนไพรต้านมะเร็ง

สมุนไพรต้านมะเร็ง
โดย พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ภัทราพร ตั้งสุขฤทัย




              

                จากข้อสรุปที่ว่าร่างกายของคนเรามีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่ถ้าร่างกายเรามีภูมิต้านทานที่ดีมีความสมบูรณ์ แข็งแรง ก็จะสามารถต่อสู้กับโรคมะเร็งได้ ดังนั้นระบบภูมิคุ้มกันที่ถูกทำลายด้วยวิธีต่างๆ ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อมะเร็ง ได้แก่ การกินอาหารที่ไม่ถูกต้อง อาหารมีสารพิษ ไม่สะอาด มีสารก่อมะเร็ง การไม่ออกกำลังกาย ความเครียด การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสารพิษรอบๆ แล้ว ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการทำลายระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทั้งนั้น ดังนั้นการป้องกันการเกิดมะเร็งที่ดี คือ การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหารที่เน้นเป็นอาหารธรรมชาติ เส้นใย (fiber) สูง เช่น ผักพื้นบ้านที่อุดมไปด้วย วิตามิน เอ อี ซี สูง เช่น ผักใบเขียว กระเทียม หัวหอม ข่า  กระเทียม โหระพา ตำลึง มะระ ฯลฯ
 ตามที่มีข่าวลงในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 15 ธันวาคม 2543 เกี่ยวกับเครื่องปรุงในต้มยำกุ้งป้องกันการเกิดมะเร็งนั้น ในสูตรของต้มยำกุ้ง ประกอบด้วยเครื่องปรุงหลักที่เป็นสมุนไพร ดังนี้

 1. ข่า 2.ตะไคร้ 3.ใบมะกรูด 4.พริก 5. มะนาว

                ตามตำราการแพทย์แผนไทยพบว่า ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก มีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณตามตำรายาไทยช่วยขับลม ช่วยย่อย แก้ปวดท้อง ช่วยเจริญอาหาร และมีวิตามินซี ช่วยบำรุงร่างกาย กระดูกและฟัน
จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พบว่า
เหง้าข่า     มีน้ำมันหอมระเหย ได้แก่ methyl cinnamate 48 % ,cincol 20-30 % น้ำมันหอมระเหยจากเหง้าข่ามีฤทธิ์ขับลมต้านเชื้อแบคทีเรีย และมีฤทธิ์ต้านเชื้อรา นอกจากนี้ยังไม่พบพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง และไม่มีฤทธิ์ก่อสารกลายพันธุ์
ตะไคร้   ใบและลำต้นประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหยและสารประกอบที่สำคัญ ได้แก่  citral 65-85%, myrcene, citronellal, geraniol , menthol , citxonellol, engenol  มีฤทธิ์ขับลม ลดการบีบตัวของลำไส้ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราบางชนิด
พริก  มีสารสำคัญคือ มีวิตามินซีสูง มีสารที่มีฤทธิ์เป็นแอนตี้ออกซิแดนท์แต่ในขณะเดียวกันสารแคบไซซินในพริกจะทำให้เกิดการระคายเคือง ไม่ควรใช้ในปริมาณมาก โดยเฉพาะรายที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
ใบมะกรูด  มีน้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ช่วยขับลมในลำไส้
มะนาว   ผิวเปลือกมีสารสำคัญเป็นน้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ส่วนน้ำมะนาวมีสาร slaronoid , oranic  acid , citral และวิตามินซี ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด ขับเสมหะ แก้ไอ

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าในเครื่องปรุงต้มยำซึ่งเป็นอาหารไทยที่บรรพบุรุษได้ใช้กันมาอย่างยาวนานจนกระทั่งปัจจุบันไม่พบความเป็นพิษอีกทั้งยังมีสรรพคุณทางยาไทยช่วยขับลม ช่วยย่อย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เจริญอาหาร และที่สำคัญเครื่องปรุงเหล่านี้มีเส้นใยอาหารมาก จะช่วยดูดซับสารพิษในลำไส้ระบบทางเดินอาหารและขับถ่ายของเสียได้ดี นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนว่าสมุนไพรแต่ละชนิดที่นำมาปรุงในต้มยำมีสารสำคัญช่วยยับยั้งและฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้ และยังมีรายงานยืนยันว่าไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์



                นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรที่เป็นอาหารหลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งและมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์  ได้แก่
สมุนไพรต้านมะเร็ง
โดย พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ภัทราพร ตั้งสุขฤทัย




              

                จากข้อสรุปที่ว่าร่างกายของคนเรามีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่ถ้าร่างกายเรามีภูมิต้านทานที่ดีมีความสมบูรณ์ แข็งแรง ก็จะสามารถต่อสู้กับโรคมะเร็งได้ ดังนั้นระบบภูมิคุ้มกันที่ถูกทำลายด้วยวิธีต่างๆ ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อมะเร็ง ได้แก่ การกินอาหารที่ไม่ถูกต้อง อาหารมีสารพิษ ไม่สะอาด มีสารก่อมะเร็ง การไม่ออกกำลังกาย ความเครียด การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสารพิษรอบๆ แล้ว ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการทำลายระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทั้งนั้น ดังนั้นการป้องกันการเกิดมะเร็งที่ดี คือ การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหารที่เน้นเป็นอาหารธรรมชาติ เส้นใย (fiber) สูง เช่น ผักพื้นบ้านที่อุดมไปด้วย วิตามิน เอ อี ซี สูง เช่น ผักใบเขียว กระเทียม หัวหอม ข่า  กระเทียม โหระพา ตำลึง มะระ ฯลฯ
 ตามที่มีข่าวลงในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 15 ธันวาคม 2543 เกี่ยวกับเครื่องปรุงในต้มยำกุ้งป้องกันการเกิดมะเร็งนั้น ในสูตรของต้มยำกุ้ง ประกอบด้วยเครื่องปรุงหลักที่เป็นสมุนไพร ดังนี้

 1. ข่า 2.ตะไคร้ 3.ใบมะกรูด 4.พริก 5. มะนาว

                ตามตำราการแพทย์แผนไทยพบว่า ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก มีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณตามตำรายาไทยช่วยขับลม ช่วยย่อย แก้ปวดท้อง ช่วยเจริญอาหาร และมีวิตามินซี ช่วยบำรุงร่างกาย กระดูกและฟัน
จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พบว่า
เหง้าข่า     มีน้ำมันหอมระเหย ได้แก่ methyl cinnamate 48 % ,cincol 20-30 % น้ำมันหอมระเหยจากเหง้าข่ามีฤทธิ์ขับลมต้านเชื้อแบคทีเรีย และมีฤทธิ์ต้านเชื้อรา นอกจากนี้ยังไม่พบพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง และไม่มีฤทธิ์ก่อสารกลายพันธุ์
ตะไคร้   ใบและลำต้นประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหยและสารประกอบที่สำคัญ ได้แก่  citral 65-85%, myrcene, citronellal, geraniol , menthol , citxonellol, engenol  มีฤทธิ์ขับลม ลดการบีบตัวของลำไส้ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราบางชนิด
พริก  มีสารสำคัญคือ มีวิตามินซีสูง มีสารที่มีฤทธิ์เป็นแอนตี้ออกซิแดนท์แต่ในขณะเดียวกันสารแคบไซซินในพริกจะทำให้เกิดการระคายเคือง ไม่ควรใช้ในปริมาณมาก โดยเฉพาะรายที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
ใบมะกรูด  มีน้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ช่วยขับลมในลำไส้
มะนาว   ผิวเปลือกมีสารสำคัญเป็นน้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ส่วนน้ำมะนาวมีสาร slaronoid , oranic  acid , citral และวิตามินซี ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด ขับเสมหะ แก้ไอ

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าในเครื่องปรุงต้มยำซึ่งเป็นอาหารไทยที่บรรพบุรุษได้ใช้กันมาอย่างยาวนานจนกระทั่งปัจจุบันไม่พบความเป็นพิษอีกทั้งยังมีสรรพคุณทางยาไทยช่วยขับลม ช่วยย่อย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เจริญอาหาร และที่สำคัญเครื่องปรุงเหล่านี้มีเส้นใยอาหารมาก จะช่วยดูดซับสารพิษในลำไส้ระบบทางเดินอาหารและขับถ่ายของเสียได้ดี นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนว่าสมุนไพรแต่ละชนิดที่นำมาปรุงในต้มยำมีสารสำคัญช่วยยับยั้งและฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้ และยังมีรายงานยืนยันว่าไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์



                นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรที่เป็นอาหารหลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งและมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์  ได้แก่
กุยช่าย                    มะแว้งเครือ                            มะแว้งต้น                               ขมิ้นชัน
มังคุด                      หอมแดง                                กะเพรา                                  โหระพา
กระเทียม                งา                                           ขนุน                                      ชะเอม
ดีปลี                       ขมิ้นอ้อย                                มะนาว                                    ตำลึง
ถั่วลิสง                    ขิง                                          ตะไคร้                                    น้ำเต้า
พริก                        ผักกาดน้ำ                              มะขามป้อม                             สะเดา
พลู                          มะเขือพวง                             แมงลัก                                    ฟักทอง
มะละกอ                  มะม่วงสุก                              ฟักข้าว                                    มะปราง
มะกรูด                    มะอึก                                     มะขามเทศ                             ว่านหางจระเข้
มะเขือยาว               ส้มเขียวหวาน                         มะระขี้นก                               องุ่น



สมุนไพรไทยที่มีการวิจัยในการยับยั้งเซลล์มะเร็ง
สมุนไพรไทยที่มีการทดลองในหลอดทดลองมีหลายชนิด ได้แก่
บวบขม                                  ขันทองพยาบาท                                    จำปีป่า
ปลาไหลเผือก                        ดองดึง                                                   ทองพันชั่ง
เจตมูลเพลิงแดง                      เจตมูลเพลิงขาว                                      ราชดัด
ฝาง                                        โทงเทง                                                  แสมสาร
จำปา                                      ขมิ้นต้น                                                 ฟ้าทะลายโจร
ปรู่                                          กระเทียม                                               ประยงค์
พลับพลึง                                รงทอง                                                   ข่อย
แพงพวยฝรั่ง                           สมอไทย                                                หญ้าปีกไก่ดำ
แกแล                                      กะเม็ง                                                    เครือเถาวัลย์
ทับทิม                                    มังคุด                                                     โล่ติ๊น
ไพล                                       จำปีหลวง                                               สีเสียด
สมอพิเภก                               ข้าวเย็นเหนือ                                         ลิ้นงูเห่า
ไฟเดือนห้า                            

สารคดีใต้ท้องสมุทร

ดอกไผ่บาน

อาหารสมอง

อาหารนับร้อย นับพัน นับหมื่นชนิดได้ถือกำเนิดขึ้นด้วยบรรพบุรุษของเราเป็นผู้คัดสรรว่าสิ่งใดที่กินได้หรือกินไม่ได้ จากนั้นก็ปรับเปลี่ยนปรุงรสให้อร่อยถูกลิ้นกลายเป็นสูตรอาหารต่างๆ และเริ่มเผยแพร่ต่อๆ กันมายังชนรุ่นหลัง โดย โดยใช้วิธีการถ่ายทอดหลายทางแต่ที่เด่นๆ คือ แบบปากต่อปากและถ่ายทอดลงตำราต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญยิ่ง

อาหารนั้นมีวิวัฒนาการเปลี่ยนไป เมื่อมีเกิดก็ต้องมีตาย อาหารบางรายการไม่มีใครรู้จักแล้ว หรือรู้จักวิธีการทำอาจต้องใช้วัตถุดิบที่หาได้ยาก หรือมีวิธีการปรับปรุงอันซับซ้อนจำเป็นต้องตัดขั้นตอนสำคัญบางส่วนทิ้งลงไปทำให้สูตรอาหารนั้นปรับปรุงง่ายขึ้นแต่ไม่ครบเครื่อง รูปลักษณ์และรสชาติของอาหารรายการนั้นก็จะเปลี่ยนไปด้วย

การบันทึกรายการอาหารต่างๆ ไว้จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ้ง เปรียบประดุจว่าเป็นการบันทึกวิธีการปรับอาหารลงศิลาจาลึกเพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ค้นคว้า แม้ในโลกที่มีแต่เทคโนโลยีแสนเลิสล้ำนี้จะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างดูง่ายไปเสียหมดหรือเพียงใช้กดปุ๋มคุรก็จะได้รับสิ่งที่คุณต้องการ ตั้งแต่เครื่องมือเครื่องใช้ไปถึงอาหารการกินคุณก็สามารถใช้นิ้วสั่งได้อย่างรวดเร็ว

เราไม่มีเวลามากพอที่จะอ่านนั่งอ่านสูตรอาหารเพื่อศึกษาส่วนประกอบและคุณค่าต่างๆ เมื่อถึงมื้อเราจะสนใจเพียงว่ามีอาหารร้านใดที่เป็นจานด่วนที่สุด อร่อยที่สุดเรื่องคุณค่าไว้คิดทีหลัง หรือไม่ก็เก็บไปคิดถึงวันที่ต้องนอนให้เกลือหยอดน้ำข้าวอยู่โรงพยาบาล เมื่อถึงวันนั้นจากตำราอาหารสารพัดก็ต้องเปลี่ยน เป็นตำรายาแทน

ชนชาติจีนซึ่งถือเป็นชนชาติที่ให้ความสำคัญกับอาหารมากเป็นอันดับหนึ่งและมีการรวบรวมสูตรอาหารต่างๆ ไว้อย่างชัดเจนที่สุด ยังไม่สามารถเก็บตำรายาและอาหารไว้ได้อย่างครบถ้วนเช่น ตำรา “ชินถังชู้” เป็นตำราที่สอนให้รู้จักวิธีการกิน โดยกล่าวถึงส่วนประกอบของอาหารว่าชนิดใด ควรกินในฤดูกาลใด เพื่ออะไร ซึ่งเนื้อความที่สมบูรณ์ของตำราเล่นนี้ได้หายไป ทำให้ชนรุ่นหลังไม่มีข้อมูลที่แท้จริง เพื่อศึกษาการปรุงอาหารบางชนิดที่เป็นสูตรลับเฉพาะ มีคุณสมบัติพิเศษในการรักษาโรคภัยต่างๆ เป็นที่น่าเสียดายยิ่ง

แม้ว่าเราจะมีเทคโนโลยีอันทันสมัย แต่หากไม่มีหนังสือ เทคโนโลยีเหล่านั้นก้ไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้ ณ เวลานี้ เราควรได้รับข้อมูลอย่าครบถ้วน เพื่อบำรุงสมองอันอ่อนแอให้แข็งแรงด้วยเสื่อผสม โดยการอ่านหนังสือ ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ไปด้วย เรื่องราวในหนังสือนั้นจึงเป็นอาหารอย่างหนึ่งที่ทำให้ร่างกายของเราแข็งแรงและร่างกายของเราก้จะแข็งแรงด้วยสูตรอาหารนานาชาติที่คุงคุณค่าดังเดิม

ที่มา : นิตยสารเคล็ดลับการกินเพื่อชีวิตที่ดีกว่า

จากเว็บไซด์ http://www.krabork.com/

รวมเพลง - ILLSLICK